วันพฤหัสบดีที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2555

ภัยพิบัติทางธรรมชาติ

รูปแบบภัยธรรมชาติ 9 มฤตยูภัยธรรมชาติ
  “ภัยธรรมชาติ” ทีเกิดขึ้นในโลกมีหลายรูปแบบ แต่ที่เกิดขึ้นบ่อยและทำให้มวลมนุษยชาติได้รับความบอบช้ำที่สุดนั้น สามารถแบ่งออกเป็น 9 ประเภทคือ
1.อุทกภัย (Flood) หรือน้ำท่วม
เกิดจาก 2 สาเหตุ คือ เกิดจากน้ำป่าไหลหลากและน้ำท่วมฉับพลัน ส่วนใหญ่เกิดเพราะฝนตกหนักต่อเนื่องหลายชั่วโมง พื้นดินไม่สามารถดูดซับน้ำได้ทัน นอกจากน้ำป่าไหลหลากแล้ว น้ำท่วมฉับพลันก็เป็นสาเหตุสำคัญที่สร้างความเสียหาย โดยเฉพาะผู้ที่อาศัยอยู่ริมแม่น้ำจะเผชิญปัญหาน้ำท่วมจากแม่น้ำลำธารล้นตลิ่งและไหลท่วมหมู่บ้านอย่างรวดเร็ว


2.แผ่นดินไหว (Earthquake)
ส่วนใหญ่แผ่นดินไหวจะเกิดจากการปลดปล่อยพลังงานใต้พื้นพิภพ ทำให้เกิดภูเขาไฟระเบิด หรือรอยเลื่อนของแผ่นดินเกิดการขยับตัว มีเพียงส่วนน้อยที่แผ่นดินไหวเกิดจากฝีมือมนุษย์ เช่น การทดลองระเบิดนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือ จีน หรืออินเดีย


3.ดินถล่ม (Landslide)
เกิดจากฝนตกหนักหลายวัน จนดินไม่สามารถอุ้มน้ำไว้ จึงไถลลงมาตามลาดเขา หรือเกิดจากพื้นที่ลาดชันมากแล้วมีดินร่วนตกลงมาตามเส้นทางใกล้เคียง หากน้ำฝนพัดพากิ่งหรือซากต้นไม้รวมถึงก้อนหินใหญ่ผสมมาด้วยความรุนแรงจากดินถล่มก็อาจซัดบ้านเรือนให้กลายเป็นเศษไม้เช่นกัน


4.ไฟป่า (Forest Fire)
เกิดจากสาเหตุ 2 ประการ คือ ธรรมชาติกับฝีมือมนุษย์ไฟป่าธรรมชาติจะเกิดจากฟ้าผ่า หรือการเสียดสีกันของต้นไม้แห้ง ส่วนไฟป่าจากฝีมือมนุษย์เกิดจากการตัดไม้ทำลายป่า เผากำจัดวัชพืช เผาไร่ ฯลฯ โดยข้อมูลการดับไฟป่าตั้งแต่ปี 2528-2545 มีไฟป่าเกิดขึ้นในประเทศไทยมากถึง 105,169 ครั้ง


5.คลื่นพายุซัดฝั่ง (Storm Surges)
เกิดจากความแรงของพายุหมุนเขตร้อนที่เคลื่อนตัวเข้าหาฝั่ง โดยมีความรุนแรงในรัศมีประมาณ 100 กิโลเมตร เช่นปี 2505 เกิดที่ชายฝั่งแหลมตะลุมพุก จ.นครศรีธรรมราช ปี 2548 พายุแคทรีนาซัดกระหน่ำฝั่งตะวันออกของสหรัฐอเมริกาเป็นวงกว้าง 2.3 แสนตารางกิโลเมตร (ประเทศไทยมีพื้นที่ 5.1 แสนตารางกิโลกเมตร)


6.วาตภัย (Storms)
เป็นภัยธรรมชาติที่เกิดจากพายุลมแรง แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ เกิดจากพายุฤดูร้อนที่มีความเร็วเกิน 50 กิโลเมตรต่อชั่วโมง กับวาตภัยที่เกิดจากพายุหมุนเขตร้อน เช่น ดีเปรสชันกำลังอ่อนความเร็วไม่เกิน 63 กิโลเมตรต่อชั่วโมง หรือพายุไต้ฝุ่นขนาดปานกลางความเร็วไม่เกิน 118 กิโลเมตรต่อชั่วโมง


7.พายุฝนฟ้าคะนอง (Thunder Storm)
เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นประจำ มักเกิดเป็นพายุลมหมุนหรือพายุงวงช้าง ซึ่งมีลมรุนแรงมาก โดยเฉพาะช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคม ทำให้เกิดน้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วมฉับพลัน ฯลฯ


8.ทุพภิกขภัย (Droght) หรือภัยแล้ง
เป็นสภาพที่ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล สำหรับประเทศไทยนั้นภัยแล้งส่วนใหญ่เกิดจากพายุหมุนเขตร้อนเคลื่อนผ่านน้อยเกินไป หรือลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้มีกำลังอ่อน ทำให้สภาวะฝนทิ้งช่วงเป็นเวลานานปัจจุบันอาจเกิดสภาพที่เรียกว่าปรากฏการณ์ “เอลนีโญ่” (El Nino Phenomena) หรือปรากฏการณ์ที่ลมสินค้าตะวันออกเฉียงใต้อ่อนกำลังลง ไม่สามารถพัดพาความชุ่มชื้นจากฝั่งตะวันออกของมหาสมุทรแปซิฟิกเข้าสู่หมู่เกาะด้านตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิก


9.คลื่นยักษ์สึนามิ (Tzunami)
เป็นคลื่นยักษ์ที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งในญี่ปุ่น โดยคลื่นยักษ์จะก่อตัวจากแผ่นดินไหวใต้มหาสมุทร หรือการระเบิดของภูเขาไฟใต้มหาสมุทรบางครั้งอาจเกิดจากก้อนอุกกาบาตตกลงในมหาสมุทรก็ได้

                                                           “อุทกภัย” ฆาตกรหมายเลข 1

 
                      ภัยธรรมชาติที่สร้างความเสียหายให้แก่ประเทศไทยมีหลายรูปแบบ แต่ที่เกิดขึ้นบ่อยที่สุดแบ่งเป็น 4 ประเภท คือ น้ำท่วม แผ่นดินไหว ไฟไหม้ป่า และโคลนถล่ม นอกจากนี้ ยังมีภัยธรรมชาติรูปแบบใหม่ที่กำลังคืบคลานเข้าหามนุษยชาติ นั่นคือ ภัยโลกร้อน
 
 
เกาะติดน้ำท่วม : 2555
ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เปิดเผยถึงสถานการณ์น้ำของกรุงเทพมหานครว่า
ในขณะนี้กรุงเทพยังไม่พบปัญหาเกี่ยวกับสถานการณ์น้ำแต่อย่างใด ถึงแม้ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาจะสูงว่า 1 เมตรแต่ก็ยังไม่ถึงจุดที่มีปัญหา สำหรับปริมาณน้ำฝนที่ผ่านมา มีปริมาณ 130-150 มล. กรุงเทพมหานครยังสามารถระบายน้ำได้ โดยในเส้นทางหลักอาจต้องใช้เวลา 2-3 ชม. และในพื้นที่เส้นทางรอง ชุมชน และหมู่บ้านอาจต้องใช้เวลานานกว่านั้น แต่ก็ยังสามารถระบายได้ดี
ทั้งนี้ในวันที่ 21 กย. ต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เพราะมีการคาดการณ์ว่าจะมีปริมาณน้ำสูง อย่างไรก็ตามที่ผ่านมากรุงเทพมหานครได้ทำการประชาสัมพันธ์ข่าวสารให้กับประชาชนรับทราบอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีประชาชนอาศัยอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา 27 ชุมชน ให้เฝ้าระวังติดตามข่าวสารอย่างใกล้ชิด
ส่งผลน้ำทะลักท่วมต่อเนื่อง ด้านผู้ว่าฯ เร่งระดมเรือ-สิ่งของเข้าช่วยเหลือประชาชน พร้อมประกาศให้เฝ้าติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด
สถานการณ์น้ำที่เข้าท่วมตัวเมือง หรือเขตเทศบาลจ.สุโขทัยรอบ2 ขณะนี้ยังวิกฤติเจ้าหน้าที่ยังไม่สามารถรุดรั่วที่เกิดขึ้นใหม่ได้ แม้จะระดมกำลังเข้าสะกัดกั้นตลอดทั้งคืนก็ตาม ส่งผลให้ตลาดสด-โรงเรียนมีน้ำทะลักเข้าท่วมต่อเนื่อง โดยขณะนี้มีน้ำท่วมสูง 30เซนติเมตรแล้ว
สำหรับสถานการณ์ทั่วไปใน จ. สุโขทัย น้ำได้ท่วมขยายวงกว้างออกไป 5อำเภอแล้ว ได้แก่ อำเภอเมืองสุโขทัย สวรรคโลก ศรีสำโรง ศรีสัชนาลัย และคีรีมาศ โดยระดับน้ำที่ท่วมขังสูงตั้งแต่ 30 เซนติเมตร ถึง 2 เมตร
ด้านนายจักริน เปลี่ยนวงษ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสุโขทัย ก็ได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดเรือท้องแบนและสิ่งของบรรเทาทุกข์ออกไปช่วยเหลือชาวบ้าน พร้อมประกาศเตือนให้ผู้ที่มีบ้านเรือนอยู่ติดริมน้ำเฝ้าระวังสถานการณ์อย่างใกล้ชิด
เพราะหากมีฝนตกหนัก อาจเกิดน้ำท่วมฉับพลันได้ รวมทั้งแนะนำให้ทุกหมู่บ้านจัดเวรยามออกตรวจตราพื้นที่ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อป้องกันเหตุฉุกเฉินได้

 
 
 
 
น้ำท่วมคู่ซี้ดินถล่ม
                     มหันตภัยดินถล่มนั้น ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในเมืองแจไม่รับรู้ข้อมูลในส่วนนี้มากนัก แต่ผู้ที่อาศัยอยู่ใกล้ตีนภูเขาจะต้องเตรียมใจไว้เลยว่า หากมีฝนตกหนักสักพักแล้วน้ำฝนที่ไหลมากลายเป็นสีน้ำตาลข้นเมื่อไหร่ แสดงว่ามีดินผสมมาด้วย หากสีเข้มหนักเริ่มมีเศษใบไม้ใบหญ้ารวมอยู่ด้วย ก็ถึงเวลาที่ต้องอุ้มลูกจูงหลานอพยพออกนอกพื้นที่ให้เร็วที่สุด
 
“โลกร้อน”...เกินจินตนาการ
 
นอกจากภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นบ่อยในประเทศไทย 4 ประเภทแล้ว กระแสความรู้เรื่องโลกร้อนก็ได้แผ่ขยายมาในเอเชีย ทำให้นักวิจัย นักวิชาการ และนักสิ่งแวดล้อมในไทยตื่นตัว และวิเคราะห์ถึงผลกระทบของอุณหภูมิโลกที่มีต่อไทยอย่างเป็นระบบมากขึ้น
ผศ.ดร.กัณฑรีย์ บุญประกอบ ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยรามคำแหง ยืนยันว่า 40 ปีที่ผ่านมา เกิดภาวะน้ำฝนปริมาณมากผิดปกติอย่างต่อเนื่อง โดยมีสาเหตุเกี่ยวข้องกับภาวะโลกร้อนโดยตรง แม้ไทยจะปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ก่อให้เกิดภาวะโลกร้อนเพียงร้อยละ 0.8 ของโลก แต่ผลกระทบที่ได้รับจะเท่ากันทุกประเทศ เช่น เมื่อบรรยากาศโลกร้อนขึ้นก็จะดูดซับไอน้ำ ทำให้ไอน้ำสะสมเพิ่ม ส่งผลให้ฝนตกหนัก มีปริมาณน้ำมาก มีงานวิจัยระบุว่า 50 ปีที่ผ่านมา ภัยธรรมชาติที่เกิดร้ายแรงเพิ่มขึ้นถึง 10 เท่า
“ไทยยังไม่มีการทำวิจัยเรื่องภาวะโลกร้อนกับภัยพิบัติธรรมชาติ อย่าลืมว่าไทยมี 76 จังหวัด มีพื้นที่ 25 ลุ่มน้ำ โอกาสเกิดภัยธรรมชาติเยอะมาก เราต้องเตรียมทำโมเดลจำลองสภาพภูมิอากาศโลก แล้วใช้ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์คำนวณเพื่อปรับตัวให้เข้ากับภูมิอากาศโลกที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น อีก 30 ปี น้ำฝนอาจน้อยจนปลูกข้าวหอมมะลิไม่ได้ก็ต้องเตรียมข้าวพันธุ์อื่นไว้ พื้นที่ฝนตกหนักก็ต้องทำระบบป้องกัน ตอนนี้เพื่อนบ้านให้ความสนใจเรื่องผลกระทบจากภาวะโลกร้อนมาก แต่รัฐบาลไทยยังนิ่งเฉย ไม่มีนโยบายที่ชัดเจน” ผศ.ดร.กัณฑรีย์ กล่าว
เมื่อนักวิชาการและสถิติข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น ต่างยืนยันตรงกันว่า มหันตภัยธรรมชาติเป็นมัจจุราชตัวร้าย ที่กำลังเอื้อมมือมาคร่าชีวิตพวกเราอย่างรวดเร็วและรุนแรงมากขึ้น โดยไม่มีทางเอ่ยปากขอร้องหรือเจรจาต่อรอง ถึงเวลาแล้วที่พวกเราจะต้องรู้จักมัจจุราชทั้ง 5 ชนิดและวางแผนรับมือ ดังคำกล่าวที่ว่า “ป้องกันก่อนเกิดเหตุเตือนภัยเมื่อเกิดเหตุ และปลอดภัยหลังเกิดเหตุ”

<<<เพียงแค่เรา....ช่วยกันด้วยสองมือ>>>
 
 
 
 
 
                   http://news.mthai.com/headline-news/189290.html